เทคโนโลยีการสื่อสาร (Communication Technology)
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร Information and Communication Technology (ICT) หมายถึง เทคโนโลยีที่ใช้จัดการสารสนเทศการสื่อสาร เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องตั้งแต่การรวบรวมการจัดเก็บข้อมูล การประมวลผล การพิมพ์ การสร้างงาน การสื่อสารข้อมูล ฯลฯ ซึ่งรวมไปถึงการให้บริการ การใช้ การดูแลข้อมูล และแพร่กระจายหรือสื่อสารข้อมูล ทำให้ข้อมูลกลายเป็นสารสนเทศที่ดี มีความถูกต้อง ตรงตามความต้องการ และเกิดคุณค่าต่อผู้ใช้
ICT เป็นอักษรย่อที่เกิดจากการรวมคำ 3 คำเข้าด้วยกัน คือ
I Information หมายถึง สารสนเทศหรือข้อมูล
C Communication หมายถึง การสื่อสาร
T Technology หมายถึง เทคโนโลยี
เทคโนโลยี หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ใหม่ๆ ที่ทันสมัย มีระบบการทำงานที่ยุ่งยากซับซ้อนรวมไปถึงการปฏิบัติหรือดำเนินการใด ๆ ที่ใช้ความรู้ วิธีการ หรือเทคนิคทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยให้การดำเนินการต่าง ๆ บรรลุผลซึ่งเมื่อนำมาใช้แล้วสามารถช่วยให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นและประสิทธิผลสูงขึ้น
การสื่อสาร หมายถึง การนำสื่อหรือข้อมูลของฝ่ายหนึ่งส่งให้อีกฝ่ายหนึ่งประกอบด้วยผู้ส่งสารหรือแหล่งกำเนิด ช่องทางการส่งข้อมูลซึ่งเป็นสื่อกลางหรือตัวกลาง และหน่วยรับข้อมูลหรือผู้รับสาร
องค์ประกอบพื้นฐานของการสื่อสารข้อมูล
1. ข้อมูลข่าวสาร (Message) คือสัญญาณอิเลคทรอนิกส์ที่ส่งผ่านไปในระบบสื่อสาร ซึ่งอาจถูกเรียกว่า สารสนเทศ (Information) โดยแบ่งเป็น 5 รูปแบบ ดังนี้
1.1 ข้อความ (Text) ใช้แทนตัวอักขระต่าง ๆ ซึ่งจะแทนด้วยรหัสต่าง ๆ เช่น รหัสแอสกี (รหัสมาตรฐานของสหรัฐอเมริกาเพื่อการแลกเปลี่ยนสารสนเทศประกอบด้วยอักษรละติน เลขอารบิก เครื่องหมายวรรคตอน และสัญลักษณ์ต่างๆ โดยแต่ละรหัสจะแทนด้วยตัวอักขระหนึ่งตัว)
1.2 ตัวเลข (Number) ใช้แทนตัวเลขต่าง ๆ ซึ่งตัวเลขไม่ได้ถูกแทนด้วยรหัสแอสกีแต่จะถูกแปลงเป็นเลขฐานสองโดยตรง
1.3 รูปภาพ (Images) ข้อมูลของรูปภาพจะแทนด้วยจุดสีเรียงกันไปตามขนาดของรูปภาพ
1.4 เสียง (Audio) ข้อมูลเสียงจะแตกต่างจากข้อความ ตัวเลข และรูปภาพเพราะข้อมูลเสียงจะเป็นสัญญาณต่อเนื่องกันไป
1.5 วิดีโอ (Video) ใช้แสดงภาพเคลื่อนไหว ซึ่งเกิดจากการรวมกันของรูปภาพหลาย ๆ รูป
2. ผู้ส่ง (Sender) เป็นต้นทางที่ใช้ในการส่งข่าวสาร (Message) เป็นต้นทางของการสื่อสารข้อมูลมีหน้าที่เตรียมสร้างข้อมูล เช่น ผู้พูด โทรทัศน์ กล้องวิดีทัศน์ เป็นต้น
3. ผู้รับ (Receiver) เป็นปลายทางการสื่อสาร มีหน้าที่รับข้อมูลที่ส่งมาให้ เช่น ผู้ฟัง เครื่องรับโทรทัศน์ เครื่องพิมพ์ เป็นต้น
4. สื่อกลาง (Medium) หรือตัวกลาง เป็นเส้นทางการสื่อสารเพื่อนำข้อมูลจากต้นทางไปยังปลายทาง สื่อส่งข้อมูลอาจเป็นสายคู่บิดเกลียว สายโคแอกเชียล สายใยแก้วนำแสง หรือคลื่นที่ส่งผ่านทางอากาศ เช่น เลเซอร์ คลื่นไมโครเวฟ คลื่นวิทยุภาคพื้นดิน หรือคลื่นวิทยุผ่านดาวเทียม
5. โปรโตคอล (Protocol) คือ วิธีการหรือกฎระเบียบที่ใช้ในการสื่อสารข้อมูลเพื่อให้ผู้รับและผู้ส่ง สามารถเข้าใจกันหรือคุยกันรู้เรื่อง โดยทั้งสองฝั่งทั้งผู้รับและผู้ส่งได้ตกลงกันไว้ก่อนล่วงหน้าแล้วในคอมพิวเตอร์โปรโตคอลอยู่ในส่วนของซอฟต์แวร์ที่มีหน้าที่ทำให้การดำเนินงานในการสื่อสารข้อมูลเป็นไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้
วิเคราะห์
การใช้ชีวิตประจำวันของเราแต่ละคนต่างมีบทบาทในการดำเนินชีวิตที่แตกต่างกันออกไปถ้าวัยเด็กมีหน้าที่คือไปโรงเรียนเรียนหนังสือถ้าเป็นวัยทำงานก็ตื่นมาไปทำงานแต่ถ้าเป็นวัยสูงอายุก็หากิจแก่เหงาอย่างเกิดประโยชน์แต่ทุก ๆ วัยมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบต่างกันกาลเวลาเปลี่ยนตามยุคตามสมัย การมีเทคโนโลยีเข้ามาแทรกซึมและมีบทบาทในการใช้ชีวิตประจำวันมีทั้งข้อดีและข้อเสียต่างกันแต่ถึงอย่างไรเทคโนโลยีก็เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัวเราได้เสมอ
ปังมาก พช.
ตอบลบหล่อจังครับเพื่อน
ตอบลบเนื้อหาดีมากเลยครับ
ตอบลบ